ABOUT
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงานเพื่อเผยแพร่วิชาชีพสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2529 โดยใช้ชื่องานว่า “ สถาปนิก’29 ” และได้จัดเป็นประจำทุกปี (ยกเว้นปีพุทธศักราช 2533) จนถึงปัจจุบัน ได้จัดไปแล้ว 33 ครั้ง โดยมีผู้เข้าชมปีละประมาณ 390,000 คน ในแต่ละปี สำหรับปีพุทธศักราช 2565 นี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ปีพุทธศักราช 2559-2562 มีมติเห็นชอบในการจัดงานสถาปนิก’65 ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 34 ในระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2565 ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
แนวคิดหลักในการจัดงานสถาปนิก’65
งานสถาปนิก’65 มาพร้อมแนวคิด CO-WITH CREATORS โดยหยิบยกเอาสถาปัตยกรรมที่ใช้กระบวนการออกแบบในลักษณะ “พึ่งพา อาศัย” นำเสนอความน่าสนใจของ “การสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน” ระหว่างสถาปนิก นักคิด นักสร้างสรรค์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ทำให้เกิดผลลัพธ์ของสถาปัตยกรรม ที่มีมุมมองอันหลากหลายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากการออกแบบร่วมกัน
DOWNLOAD สูจิบัตรงานสถาปนิก'65
CO - WITH CREATORS ที่นี่
75,000
440,000
850
square meters
visitors
exhibitors
ASA VDO
PAVILIONS & ACTIVITIES
นิทรรศการและกิจกรรมสำคัญปีนี้ ประกอบด้วย
1. ส่วนนิทรรศการหลัก ประกอบด้วย
1.1 นิทรรศการ Co - with COVID
นำเสนอผลงานการออกแบบพื้นที่สำหรับรองรับวิกฤตการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 ระบาดในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 โดยจะนำเสนอการมีส่วนร่วมของสถาปนิกที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยจัดการพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนไทย ทั้งในส่วนของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่ช่วยให้ความรู้เรื่องการออกแบบพื้นที่ นำเสนอไอเดียจากสถาปนิกอาสาจากทั่วประเทศ และนำเสนอการร่วมมือระหว่างประชาชนคนไทยที่ต้องการช่วยให้วิกฤต COVID-19 ผ่านไปได้ในทุก ๆ รูปแบบ
1.2 นิทรรศการ Local innovation
นำเสนอผลงานนวัตกรรมวัสดุท้องถิ่นร่วมสมัยจากทุก ๆ ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับสถาปนิกที่ต้องการใช้วัสดุประกอบอาคารที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในส่วนงานโครงสร้าง วัสดุปิดผิว หรืองานตกแต่ง ซึ่งการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นจะสามารถสร้างคุณค่าต่อยอดให้กับภูมิปัญญาของการก่อสร้างในอดีต และมีประโยชน์ต่อสังคมในเรื่องของการลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากการใช้วัสดุในพื้นที่ได้อีกด้วย ซึ่งในปีนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะมีการคำนวณปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดจากนิทรรศการสถาปนิก’65 เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและสร้างเครื่องมือสำหรับนักออกแบบที่สามารถจะช่วยสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางได้ด้วย
1.3 นิทรรศการ Professional collaboration
นำเสนอผลงานการทำงานในรูปแบบ Co-Create ของสถาปนิกและนักสร้างสรรค์จากภูมิภาคต่าง ๆ 12 คู่ ที่มาร่วมออกแบบ 12 นิทรรศการในงานสถาปนิก’65 โดยจะเป็นการนำเสนอแนวคิดของการออกแบบ วิธีการทำงานแบบข้ามสายอาชีพ และกระบวนการสื่อสารข้ามภูมิภาคในยุค New Normal ที่อาจจะไม่ใช่วิธีการทำงานฉุกเฉินในช่วง COVID-19 แต่อาจจะเป็นรูปแบบการทำงานร่วมกันปกติในอนาคต
1.4 นิทรรศการผลงานสถาปนิก สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA Member)
นำเสนอผลงานของสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯทั้งประเภทนิติบุคคลและบุคคลภายใต้กรอบธีมงานที่กำหนด
1.5 นิทรรศการ Delineation of Architectural Masters
นิทรรศการ Delineation of Architectural Masters เป็นนิทรรศการที่เริ่มต้นจากโครงการ ASA Talk Series ที่จัดโดยสถาบันสถาปนิกสยาม ( Institute of Siamese Architect : ISA ) โดยได้เชิญสถาปนิกระดับตำนานที่เชี่ยวชาญในเรื่องการเขียนรูปทัศนียภาพในประเทศไทย จัดแสดงผลงานภาพวาด Perspective เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาและชื่นชมผลงานอย่างใกล้ชิด
2. นิทรรศการวิชาการ ประกอบด้วย
2.1 นิทรรศการ ASA Student and Workshop
ASA Architectural Design Student Workshop นำเสนอผลงานเหล่านิสิต นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมระดับนิสิตนักศึกษา นิทรรศการ ASA Workshop ภายใต้กรอบธีมงานที่กำหนด
2.2 นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design)
การแสดงผลงานการประกวดแบบในระดับนานาชาติ ที่เปิดให้สมาชิกสมาคมฯ และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมส่งผลงานแสดงแนวคิดในการออกแบบภายใต้กรอบธีมงานที่กำหนด
3. นิทรรศการ สมาคม วิชาชีพ วิชาการ ประกอบด้วย
3.1 นิทรรศการรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น และ นิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565
นำเสนอผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นคัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2565 นำเสนอผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ที่คัดเลือกโดยสมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
3.2 นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นำเสนอผลงาน นิทรรศการ เฉลิมราชสุดา สถาปัตยานุรักษ์ นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย โดยได้ทรงดำรงตำแหน่ง “แม่กอง” ในอนุรักษ์และสืบสานมรดกสถาปัตยกรรมสำคัญ ๆ เช่น พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม
3.3 นิทรรศการงานประกวดแบบภาครัฐและองค์กรอื่นๆ
นำเสนอผลงานออกแบบ อาทิ โครงการประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2564 (TOY ARCH), โครงการประกวดแบบศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา, โครงการประกวดแบบแก่งคอยเมืองสร้างสรรค์ Green City, โครงการ BlueScope Design Award 2021 “The Sustainable of Coated Steel Buildings Design Contest” และ “The Sustainability of Coated Steel Buildings of the Year 2021/2022”
4. ส่วนงานพื้นที่กิจกรรมและบริการ
4.1 หมอบ้านอาษา บริการให้คำปรึกษาในเรื่องการออกแบบและก่อสร้าง โดยกลุ่มสถาปนิกหมอบ้านอาษา
4.2 ASA Shop พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกสมาคมฯ หนังสือวิชาการจากสถาบันการศึกษา
4.3 ASA Club พื้นที่ Meeting Point และจุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา
4.4 ลานกิจกรรมกลาง พื้นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เสวนา ดนตรี ทดลองสาธิตเวิร์กช็อป
4.5 ASA Night 2022 งานสังสรรค์ตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษาทุกรุ่นทุกสมัยทุกสถาบัน
5. ส่วนงานสัมมนาวิชาการ
5.1 ASA International Forum 2022
งานสัมมนาวิชาการ โดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศ ภายใต้ธีมงาน พึ่งพา - อาศัย : CO – WITH CREATORS และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจจะยังมีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในงาน ASA International Forum 2022 จะจัดให้อยู่รูปแบบ Hybrid Forum ที่จะสามารถเข้าร่วมฟังสัมมนาแบบ On-site และแบบ Online ได้ในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศ
งานสัมมนาวิชาการ โดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ภายใต้ธีมงาน พึ่งพา - อาศัย : CO – WITH CREATORS โดยส่วนหนึ่งของงานสัมมนา จะเป็นรูปแบบ Hybrid Forum ที่จะสามารถเข้าร่วมฟังสัมมนาแบบ On-site และแบบ Online ได้ในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศเช่นกัน
ACTIVITIES SCHEDULE
Organized by