top of page

งานสถาปนิก’68

ทบทวน ทิศทาง : PAST PRESENT PERFECT ระหว่างวันอังคารที่ 29 เมษายน - วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2568

ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี



แนวคิดหลักในการจัดงานสถาปนิก’68

ทบทวน ทิศทาง : PAST PRESENT PERFECT

งานสถาปนิก’68 ในปีนี้ เป็นการต่อยอดการจัดงานสถาปนิกครั้งที่ผ่านมา ที่นำเสนอนิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี สมาคมฯ โดยในปีนี้มาพร้อมกับแนวคิด "ทบทวน ทิศทาง: Past Present Perfectจึงนับเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ใช้ช่วงเวลานี้ในการระลึกถึงการเดินทางของสถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีการเดินทางผ่านเรื่องราวและส่งต่อมายังปัจจุบันได้อย่างไรและที่ผ่านมา สถาปนิกได้ร่วมงานกับหลากหลายวิชาชีพ จากทั่วทุกภูมิภาค เราจะได้สำรวจและทบทวนถึงทิศทางที่สถาปัตยกรรมไทยได้ก้าวเดินผ่านมาหลายยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการผสมผสานเทคนิคและวัฒนธรรมจากอดีต การปรับตัวตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของสังคมในแต่ละยุค รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เคยเป็นและสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเรามีเส้นทางและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้คนและตัวตนของสถาปนิกอย่างไรเพื่อมองอนาคตไปด้วยกัน



นิทรรศการหลัก


1. นิทรรศการ ทบทวน ทิศทาง : Past Present Perfect

นิทรรศการหลักที่ชื่อว่า ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงาน โดยนิทรรศการนี้จะพาผู้ชมทบทวนคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมในอดีต หาข้อมูล, วิเคราะห์ แล้วนำมาออกแบบใหม่อีกครั้ง โดยผ่านการตีความของสถาปนิก อาจารย์ และนักศึกษาจากโรงเรียนออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการเชื่อมช่วงเวลาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นตัวอย่างการตีความจากอดีตสู่อนาคต


2. "ชิ้นแรก ชิ้นล่า : From the First Piece to the Latest"

พื้นที่จัดแสดงผลงานของเหล่าสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ,สมาคมมัณฑนากรฯ, สมาคมภูมิสถาปนิกฯ และ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย นำเสนอผลงาน 2 ชิ้นประกอบไปด้วย ผลงานการออกแบบชิ้นแรก ที่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง และผลงานการออกแบบชิ้นล่าสุดที่แสดงถึงการพัฒนาและความก้าวหน้าของผลงานในปัจจุบัน


3. ภาพเก่าเล่าเรื่อง The Documentary

งานเสวนาเปิดตัวภาพยนต์สารคดี "ภาพเก่าเล่าเรื่อง - The Documentary" เป็นการนำเสนอภาพถ่ายเก่าของสมาคมฯ ที่บันทึกกิจกรรมและเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ จากอดีตมาถ่ายทอดใหม่ในรูปแบบของนิทรรศการ ผ่านการจัดแสดง ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบุคคลตัวจริงที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น เราจะได้สัมผัสกับเรื่องราวและบรรยากาศที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ของสมาคมฯ และนอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอ "ความทรงจำ" และ "การเปลี่ยนแปลง" ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานของสมาคมฯ สารคดีชุดนี้จะช่วยให้เรามองเห็นการพัฒนาและวิวัฒนาการของกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในแต่ละยุคสมัย


4. เรื่องเล่า 3 รุ่น

ความสัมพันธ์ของคน 3 วัย ที่จะมาสะท้อนแนวทาง ต่อยอด ส่งต่อ ผ่านการทำงานร่วมกัน “บทสนทนา พร้อมภาพประกอบของคน 3 วัย หลากหลายสายงาน” ที่ร่วมกันสร้างงานสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจ กิจกรรมที่ถ่ายทอดประสบการณ์และเรื่องราวความถนัดของแต่ละท่าน ผ่านการบอกเล่าและพูดคุยอย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง (Sensory Intimacy) ที่ถูกรวบรวมและตกผนึกผ่านประสบการณ์และความสนใจของผู้บรรยายทั้งสถาปนิก, มัณฑนากร, ภูมิสถาปนิกและผู้เกี่ยวข้อง ที่จะแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขาสู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้ามจให้กับผู้ฟังซึ่งจะถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ของแต่ละคนรวมทั้งแบ่งฟันและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ร่วมกัน


5. นิทรรศการ สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย : TIDA

  • TIDA Salone พื้นที่สร้างสรรค์ทำต่อเนื่องมากว่า 10 ปี นิทรรศการออกแบบเชิงทดลองจากเหล่านักออกแบบภายในที่มีชื่อเสียงในบ้านเรา มาชวยรังสรรค์งานใหม่ โดยร่วมกับผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในต่างๆ ให้เกิดงานออกแบบแนวใหม่ที่คำนึงถึงโลกในอนาคตตลอดจนความเป็นอยู่สมัยใหม่

  • TIDA Society โซนพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆด้านการตกแต่งภายในในชื่อว่า TIDA Club ชุมชนนักออกแบบสร้างสรรค์พลังความคิดใหม่ๆ และ TIDA Night งานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปีของชาวมัณฑนากรและนักออกแบบต่างๆของไทยในรูปแบบคอนเซปต์งานที่ไม่เคยซ้ำตลอดหลายสิบปี

  • TIDA Exhibition นิทรรศการแสดงผลงานการประกวดเวทีต่างๆที่ TIDA จัดขึ้นเป็นประจาเพื่อส่งเสริมคุณภาพงานคุณภาพวิชาชีพทั้ง TIDA Award และ TIDA Thesis Award

  • TIDA Lounge พื้นที่เฉพาะสมาชิกสมาคมฯ พร้อมศูนย์บริการรับสมัครสมาชิกใหม่ บริการให้ข้อมูลสมาคมฯการให้คาปรึกษาด้านใบประกอบวิชาชีพ และร้านขายของที่ระลึก


6. นิทรรศการและพื้นที่สัมมนาวิชาการ “TALA : ไทยไท”

  • นิทรรศการและพื้นที่สัมมนาวิชาการ “TALA : ไทยไท” แลกเปลี่ยนทรรศนะและประสบการณ์การทำงานภูมิสถาปัตยกรรม ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ในบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย, การวิวัฒนาการของงานภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไทย, ซึ่งจะเป็นงานเสวนาวิชาชีพและการถ่ายทอดประสบการณ์จากภูมิสถาปนิกจาก Generations ที่หลากหลาย

  • พื้นที่จัดแสดงธีมงานภูมิสถาปัตยกรรม “TALA : ไทยไท” แสดงนิทรรศการแบบมีส่วนร่วมกับผู้เข้าชม เพื่อสื่อถึงความสำคัญและการพัฒนาของพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพ ที่มีส่วนสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของโลกที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน

  • “TALA’s Lounge” จุดรวมพลจุดพักผ่อนและนัดพบพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการของสมาชิก

  • “TALA AWARDS” พื้นที่แสดงผลงานออกแบบที่ได้รับรางวัล TALA Awards แต่ละประเภทงาน


7. นิทรรศการ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย : TUDA

  • TUDA โซนแนะนำคณะกรรมการ และที่ปรึกษา ของสมาคมฯ บอกเล่าที่มา และวัตถุประสงค์ นโยบาย และวิสัยทัศน์ ของคณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย วาระปี 2566-2568

  • TUDA EXHIBITION โซนแสดงผลงานขององค์กรพัฒนาเมืองของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมือง และโซนแสดงผลงานของนิสิต นักศึกษา ในสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง

  • TUDA PLUS โซนแสดงผลงานของสถาปนิกผังเมือง ที่มีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ในสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ที่มีส่วนในการพัฒนาเมือง การฟื้นฟู และการอนุรักษ์เมือง

  • TUDA Mass Model โซนแสดงแบบจำลอง 3 มิติ โครงข่ายเมืองและพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นบทบาทหลักของสถาปนิกผังเมือง ในการกำหนดขนาด ความสูง ระยะถอยร่น ความหนาแน่นประชากร และสภาพแวดล้อมอาคารภายในเมือง

  • TUDA REGISTER & TUDA SHOP จุดลงทะเบียน, สมัครสมาชิก, แจกของที่ระลึก และจุดจำหน่ายสินค้าสมาคมฯ


นิทรรศการวิชาการ


นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design Competition)

การแสดงผลงานการประกวดแบบในระดับนานาชาติที่เปิดให้สมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมส่งผลงานแสดงแนวคิดในการออกแบบภายใต้ธีมงาน พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรมไทย “ Future Nostalgia in Architecture” อนาคตนิยม


นิทรรศการวิชาชีพ ประกอบด้วย


1. นิทรรศการอาษาอนุรักษ์ ประกอบด้วย

  • รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2568 นำเสนอผลงานที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2568 ที่คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ

  • ASA Vernadoc 2025 นำเสนอผลงานเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ด้วยวิธี VERNADOC

  • โครงการ อนุรักษ์โบราณสถานเพื่อเป็นอนุสรณสถานมหาเถระเจ้าทุมพร นำเสนอผลการดำเนินงานของคณะทำงานโครงการภายใต้สมาคมสถาปนิกสยามฯในการอนุรักษ์โบราณสถาน ณ ลินซินกง เมืองอมรปุระ มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ 2556-2566

  • นิทรรศการเครือข่ายอนุรักษ์ เเสดงงานของเครือวข่ายอนุรักษ์ที่เคยทำงานร่วมกันมากับสมาคมสถาปนิกสยาม- บอร์ดนิทรรศการครบรอบ50ปี สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมเละสิ่งเเวดล้อม- นิทรรศการ Docomomo Thai เเสดงข้อมูลมรดกสถาปัตยกรรมโมเดืร์นในประเทศไทย


2. นิทรรศการผลงานนักศึกษาโดยสถาบันการศึกษา (3 x 3 ทุกสถาบัน)

นำเสนอผลงานการออกแบบผลงานของนิสิต-นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ อาทิ โครงการประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2568 (TOY ARCH) เป็นต้น


3. นิทรรศการงานประกวดแบบภาครัฐและองค์กรอื่นๆ

นำเสนอผลงานออกแบบของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและเมือง


พื้นที่กิจกรรมและบริการ

  • ACT + ASA Shop พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกสมาคมฯ หนังสือวิชาการจากสถาบันการศึกษา

  • ASA Book Shop พื้นที่จัดจำหน่ายหนังสือจากสถาบันการศึกษาและองค์กรทางด้านสถาปัตยกรรม

  • ASA Club พื้นที่ Meeting Point และจุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา

  • สถาปนิกอาสา พื้นที่บริการให้คำปรึกษาเรื่องแบบบ้าน จากสถาปนิกอาสา

  • ASA Night ในรูปแบบใหม่งานสังสรรค์พบปะตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษาทุกรุ่น ทุกสมัย ทุกสถาบัน โดยในปีนี้จะย้อนกลับไปในบรรยากาศเดิมที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดกิจกรรม ASA Night

ส่วนงานสัมมนาวิชาการ


ASA Forum & Professional Seminar

ASA Forum & Professional Seminar ในปีนี้ เราให้ความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้จากรุ่นสู่รุ่น โดยแบ่งเป็นส่วน International Forum 3 Gen ซึ่งจะเป็นงานบรรยายของสถาปนิกต่างชาติที่มีภูมิหลังและผลงานที่แสดงลักษณะของแต่ละยุคอย่างชัดเจน ขณะที่งานสัมมนา Professional Seminar จะเป็นงานที่เชิญผู้เชี่ยวชาญในไทยของแต่ละสาขาวิชาที่มีประโยชน์แก่การประกอบวิชาชีพของสถาปนิกในปัจจุบัน โดยในปีนี้จะมีความพิเศษ สำหรับกิจกรรมสัมมนาที่มาในรูปแบบการทำ Workshop หรือสอนการใช้งานโปรแกรม Computer สำหรับงานออกแบบต่างๆ สำหรับงานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเน้นให้ผู้เข้าฟังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและสามารถนำไปใช้ได้จริง

bottom of page