top of page

ประกาศผลการคัดเลือกรอบชิงชนะเลิศ โครงการประกวดแบบ

กู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรม Heritage in Danger

รางวัลชนะเลิศ

1. ตลาดขวัญ นนทบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1.1 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ภูริน หล้าเตจา

1.2 นางสาว กัลยารัตน์ ศรีษะพรม

1.3 นางสาว พิชญาภา เศรษฐพิทยากุล

1.4 นางสาว ธมนวรรณ เฉิดโฉม

1.5 นาย ชัชพงศ์ สรรศรี

1.6 นาย อิทธิกร ประเสริฐสังข์ 

รางวัลรองชนะเลิศ

ASA YASO.PNG

1. ยโสธรภาพยนต์: ฟื้นชีวิตใหม่ให้อาคารเก่า 1

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1.1 อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตร์ ดร.วารุณี หวัง

1.2 นางสาว ชัญญา ปัญญาพูนตระกูล

1.3 นาย ภาณุวิชญ์  ศรีสุทธา

1.4 นาย กฤษกร     วรรณจำปา

1.5 นาย รัชต์ธร      ทวีศักดิ์ไพจิตร

 

 

2. เจดีย์จงหายไป

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

2.1 อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี

2.2 นาย สิรวิชญ์    จำนงค์

2.3 นาย พรพิพัฒน์ คูหะสุวรรณ

2.4 นาย วิชยุตม์ ยี่ฟั่น

2.5 นาย กันตพัฒน์  โพธิ์ประภาพันธ์

3. อาคารที่ทำการกรมสรรพากร ถนนสี่พระยา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

3.1 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ภูริน หล้าเตจา

3.2 นาย ธนะพล          อัศวะไพโรจน์

3.3 นาย พงศ์วิษณุ์        สุวรรณมณี

3.4 นางสาว สิริวรรณ     สระทองล้อม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

4. การออกแบบปรับปรุงโบสถ์วัดขุนสมุทรจีน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

4.1 อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตร์ ดร.ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน

4.2 นางสาว ปาณิสรา กุลจิตดิไผท

4.3 นางสาว อมิตตา   อภิรติกร

4.4 นางสาว ปิยะกมล สายเสมา

5. การพัฒนาปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันเก่า

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

5.1 อาจารย์ที่ปรึกษา นายวิชัย เหล่าพาณิชย์กุล

5.2 นาย ภาคภูมิ  ไฝขาว

5.3 นาย ฐปนวงศ์ ภมรพงศ์อัมพร

5.4 นาย ธนกฤต  โซวติเวชย์

6. การออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บ้านขุนสมุทรจีน 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

6.1 อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตร์ ดร.ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน

6.2 นางสาว นิรชา     ยิ้มประเสริฐ

6.3 นางสาว ณะพรศิริ ศาสตร์สง่า

6.4 นางสาว กัณฑมาศ มหารัตน์

โครงการประกวดแบบ

กู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรม Heritage in Danger

ASA'20_Heritage in danger.jpg

สำหรับโครงการประกวดแบบสำหรับนิสิตนักศึกษาของงานสถาปนิก'63 "มองเก่า ให้ใหม่: Refocus Heritage" สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชวนนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นตัวแทนของนักออกแบบรุ่นใหม่ มาร่วมทำภารกิจ "กู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรม" โดยนำเสนอแนวคิดในการดูแล ปรับปรุง บูรณะ สถาปัตยกรรมที่อาจเคยมีคุณค่าในอดีตของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป 

นิยามของการกู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรมสำหรับการประกวดครั้งนี้

มรดกสถาปัตยกรรม หมายถึง สถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และทรงคุณค่า ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สถาบันการศึกษาตั้งอยู่ ที่อาจถูกปล่อยทิ้งร้างหรือละเลยจนเสื่อมสภาพเมื่อเวลาผ่านไป โดยการระบุคุณค่าของสถาปัตยกรรมดังกล่าว อาจเป็นในเชิงศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรม 

 

การกู้ชีพ หมายถึง การเสนอแนวคิดในการออกแบบเพื่อฟื้นฟูมรดกสถาปัตยกรรมดังกล่าวให้คืนกลับมาเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป โดยคณะกรรมการเปิดกว้างให้ใช้แนวคิดในการสร้างสรรค์ได้เต็มที่ แต่สิ่งสำคัญคือต้องรักษาคุณค่าของมรดกนั้นๆไว้ด้วย นอกจากนี้ แนวทางในการกู้ชีพควรอยู่บนหลักพื้นฐานของความเป็นไปได้และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยทีมที่เข้าร่วมประกวดสามารถนำเสนอแนวทางในการบูรณะได้อย่างละเอียด ตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง ไปจนถึงการใช้ประโยชน์หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ 

1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในหมู่นักศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ในการเฟ้นหามรดกสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในท้องถิ่นของตน ที่กําลังประสบปัญหาเสื่อมโทรมหรือถูกทําลายจากการขาดการบํารุงรักษาหรือการใช้สอยที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสมควรที่จะได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อดํารงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมอันมีคุณค่าของชาติต่อไปในอนาคต

2. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

  • ผู้เข้าประกวดจะต้องเป็นนิสิต-นักศึกษา ระดับปริญญาตรีจากสถาปัตยกรรมศาสตร์จาก สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

  • ผู้เข้าประกวด 1 ทีม ต้องประกอบด้วยนิสิตหรือนักศึกษาจํานวน 3 -5 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จํานวน 1 คน โดยแต่ละสถาบัน สามารถส่งผู้เข้าประกวดได้มากกว่า 1 ทีม

3. ขั้นตอนและรายละเอียดของการประกวดแบบ

 

ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกโครงการ สถาบันละอย่างน้อย 1 โครงการ

ให้แต่ละทีมนําส่งชื่อโครงการและรายละเอียดอาคารที่เสนอ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) พร้อมรายชื่อทีมงานและชื่อสถาบัน โดยจัดส่งเป็น Digital file ต่อคณะกรรมาธิการส่วนภูมิภาคของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อดําเนินการคัดเลือกอาคารที่เหมาะสมในการพัฒนาผลงานต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกผลงานที่เหมาะสม สถาบันการศึกษาละอย่างน้อย 1 โครงการ เพื่อเป็นตัวแทนสถาบันฯ และทางสมาคมฯ จะเป็นผู้ประกาศรายชื่อโครงการที่ได้รับคัดเลือกเพื่อดําเนินการในขั้นตอนต่อไป
 

สามารถส่งผลงานได้ที่กรรมาธิการส่วนภูมิภาค ดังนี้

 

หมายเหตุ : ในกรณีที่สถาบันการศึกษานําส่งโครงการเพียงแห่งเดียว แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาในขั้นที่ 1 สามารถนําเสนอโครงการใหม่ได้ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับทราบผลการคัดเลือก

 

ขั้นตอนที่ 2 นําส่งผลงานรอบแรก

เมื่อแต่ละสถาบันได้รับการประกาศผลคัดเลือกโครงการแล้ว ให้ดําเนินการนําส่งผลงานออกแบบโดยจัดทําผลงานในรูปแบบ Digital file ซึ่งได้รับการออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design) ให้เหมาะสมสําหรับการพิมพ์ลงบนบอร์ดจัดแสดงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1.20 x 1.20 ม. ซึ่งวางอยู่ในแนวราบและสามารถเดินชมโดยรอบได้ (ดูแบบพื้นที่จัดแสดงที่แนบมา) ทั้งนี้ให้นําส่ง Digital file ดังกล่าวมาทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่ E-mail : asaheritage.central@gmail.com

ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกโครงการเพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศ

จํานวน 7 ทีม เมื่อทางสมาคมฯ ได้รับผลงาน Digital file จากขั้นตอนที่ 1 คณะกรรมการกลางจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดจํานวน 7 โครงการให้เข้ารอบชิงชนะเลิศ โดยจะประกาศผลพร้อมมอบค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแบบแนวคิดและจัดเตรียมผลงานขั้นสุดท้าย จํานวน 25,000 บาทต่อทีม สําหรับจัดแสดงและนําเสนอต่อคณะกรรมการตัดสินในงานสถาปนิก'63 ต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 นําส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ

รูปแบบผลงานที่ต้องนําส่งในรอบชิงชนะเลิศ ประกอบด้วย

  • Digital file ที่ออกแบบมาให้เหมาะสมสําหรับการพิมพ์ลงบนบอร์ดจัดแสดงขนาด 1.60 x 1.60 ม. ที่วางอยู่ในแนวราบ และสามารถเดินชมโดยรอบได้

  • หุ่นจําลอง 3 มิติ (สําหรับติดตั้งร่วมกับบอร์ดจัดแสดง)

  • สื่อจัดแสดงอื่นๆตามความเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 5 ตัดสินรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ

ในงานสถาปนิก'63 เมื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบ 7 ทีม นําส่งและติดตั้งผลงานในพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้แล้วเสร็จ แต่ละทีมจะต้องนําเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาตัดสินทีมชนะเลิศจํานวน 1 ทีม และรองชนะเลิศอีก 6 ทีม โดยให้เวลาในการนําเสนอ ทีมละ 20 นาที สําหรับผลงานที่ไม่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศ ทางสมาคมฯ จะเป็นผู้พิจารณาจัดเตรียมพื้นที่และติดตั้งบอร์ดแสดงผลงาน โดยจัดเป็นนิทรรศการด้วยสื่อเพื่อเผยแพร่ผลงานที่เข้าร่วมของนิสิตและนักศึกษาในงานสถาปนิก'63 อย่างเหมาะสม

4. รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ จํานวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท

  • รางวัลรองชนะเลิศ จํานวน 6 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

5. กําหนดการส่งผลงาน

การคัดเลือกโครงการ

  • วันนี้- 19 มกราคม 2563  : เชิญชวนและประชาสัมพันธ์โครงการกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

  • วันที่ 20 มกราคม 2563    : นําส่งชื่อโครงการ (ตามเอกสารแนบ) เพื่อให้กรรมการภูมิภาคคัดเลือก  

  • วันที่ 31 มกราคม 2563    : ประกาศผลการคัดเลือกชื่อโครงการ (ตามเอกสารแนบ)

  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563    : วันสุดท้ายของการนําส่งชื่อโครงการฯ ในกรณีไม่ผ่านเกณฑ์ในรอบแรก

  • วันที่ 15 กุมภาพันธ์2563   : ประกาศผลการคัดเลือกรายชื่อโครงการทั้งหมดทุกภูมิภาค

  • วันที่ 1 มีนาคม 2563        : วันสุดท้ายสําหรับการเปิดรับผลงาน ออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design) ให้เหมาะสม สําหรับการพิมพ์ลงบนบอร์ดจัดแสดงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1.20x1.20 ม. ซึ่งวางอยู่ในแนวราบและสามารถเดินชมโดยรอบได้กรรมการส่วนกลางพิจารณาผลงานที่เข้ารอบสุดท้าย 7 ทีม การส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ

  • วันที่ 10 มีนาคม.2563      : ประกาศผลการคัดเลือกผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ และมอบค่าสนับสนุนทั้ง 7 ทีม

  • วันที่ 27 เมษายน 2563     : ทีมที่เข้ารอบนําส่งและติดตั้งผลงานรอบชิงชนะเลิศที่งานสถาปนิก อาคารชาเลนเจอร์  อิมแพค เมืองทองธานี

การตัดสินรางวัล

  • วันที่ 29 เมษายน 2563       : นําเสนอผลงานต่อคณะกรรมการและตัดสินรางวัลในงานสถาปนิก'63

6. คณะกรรมการตัดสิน
6.1 การคัดเลือกโครงการ
คณะกรรมการจํานวน 12 ท่าน ประกอบด้วย

  • ผู้แทน สมาคมสถาสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 ท่าน

  • ผู้แทนกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา 3 ท่าน

  • ผู้แทนกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ 3 ท่าน

  • ผู้แทนกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน 3 ท่าน

 

6.2 การคัดเลือกผลงานรอบแรกและตัดสินรอบชิงชนะเลิศ
คณะกรรมการจํานวน 7 ท่าน ประกอบด้วย
1. คุณดวงฤทธิ์ บุญนาค จาก บริษัท ดวงฤทธิ์ บุญนาค จํากัด
2. คุณปุยฝ้าย คุณาวัฒน์ จาก บริษัท ครีเอทีฟครูส์ จํากัด
3. คุณจูน เซคิโน่ จาก บริษัท จูน เซคิโน จํากัด
4. ผู้แทนกรรมาธิการส่วนกลาง 1 ท่าน
5. ผู้แทนกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา 1 ท่าน
6. ผู้แทนกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ 1 ท่าน
7. ผู้แทนกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน 1 ท่าน

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุรยุทธ วิริยะดํารงค์ คณะกรรมการดําเนินงานฯ โทร. 081-829-4847
คุณกัลยาพร จงไพศาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสถาปนิก โทร. 02-319-6555 ต่อ 206
email. asa.kanlayaporn@gmail.com, โทร. 081-0487771

Student Competition01.png
Student Competition02.png
เจดีย์จงหายไป.PNG
The Insertion Si Pharya.PNG
โบสถ์ลอยน้ำ.PNG
timesportation.PNG
ASA-LocalBridgeMuseum.PNG
bottom of page