top of page

ABOUT

Web material-13.png

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดงานเพื่อเผยแพร่วิชาชีพสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2529  โดยใช้ชื่องานว่า “สถาปนิก’29” และได้จัดเป็นประจำทุกปี ( ยกเว้นปีพุทธศักราช 2533 และ 2563 ) จนถึงปัจจุบัน ได้จัดไปแล้ว 34 ครั้ง โดยมีผู้เข้าชมปีละประมาณ 400,000 คน สำหรับปีพุทธศักราช 2566 นี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ปีพุทธศักราช 2563-2565 มีมติเห็นชอบในการ   จัดงานสถาปนิก’66 ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 35 ในระหว่าง วันอังคารที่ 25 เมษายน – วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2566 ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบ้านใหม่  อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

แนวคิดหลักในการจัดงานสถาปนิก’66

ASA 2023_Logo Unit Setup (Website)_Black Version.png

   เรากำลังหลุดพ้นจากภายใต้เงาของโรคระบาด สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และสภาสถาปนิก จัดงานสถาปนิก’ 66 ในเดือนเมษายน 2566 เพื่อเป็นเวทีที่จะนำเหล่านักออกแบบมารวมตัวกันเพื่อ พูดคุย ตั้งคำถาม และช่วยกันหาคำตอบและแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิชาชีพทุกแขนงทั้งในปัจจุบันและอนาคต ภายในงานจะมีการจัดสัมมนา ห้องสมุดมนุษย์ การแสดงผลงานการออกแบบ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง
     เพื่อฉลองการรวมตัวกันครั้งแรกขององค์กรวิชาชีพทั้ง 5 ในปีนี้ทางคณะผู้จัดงานฯ จึงเลือกหัวข้อในการจัดงานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสังคมของคนไทย ซึ่งคือ วัฒนธรรมด้านอาหาร เมื่อเราพบปะสังสรรค์กันคนไทยจะรับประทานอาหารร่วมกัน แม้ว่า มรดกทางวัฒนธรรมและความชื่นชอบทางด้านอาหารไทยจะมีความหลากหลาย แต่อาหารไทยที่คนไทนและผู้คนทั่วโลกชื่นชอบมากที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย คือ ส้มตำ ในปีนี้จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสนุกกับงานภายใต้แนวคิด “ตำถาด : Time of Togetherness”

75,000

440,000

850

square meters

visitors

exhibitors

ASA VDO

PAVILIONS & ACTIVITIES

นิทรรศการและกิจกรรมสำคัญปีนี้  ประกอบด้วย

1. ส่วนนิทรรศการหลัก  ประกอบด้วย

         1.1 นิทรรศการธีมงาน Time of Togetherness

         ที่มาที่ไปของการรวมตัวกันของ 5 สมาคมวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม เพื่อให้เกิดการพูดคุย ตั้งคำถาม และช่วยกันหาคำตอบ เพื่อสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาชีพและสังคมโดยรวมทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่น เรื่อง Sustainable ที่ทุกคนจะต้องตะหนักและพูดถึงกันทุกวัน โดยการจัดแสดงผ่านสื่อตัวกราฟิค Key visual หลักของงาน    

 

         1.2 นิทรรศการตำถาด ( ผลงานสมาชิกสมาคม : ALL MEMBER ) 

         นำเสนอผลงานของสมาชิกสมาคม ประกอบด้วย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย ทั้งประเภทนิติบุคคลและบุคคลภายใต้กรอบธีมงานที่กำหนด และรวมถึงนำเสนอผลงานการทำงาน ของสถาปนิกทุกสาขาวิชาชีพที่มีความหลากหลายและเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และส่วนที่อธิบายถึงธีมหลักของการจัดงานอาษาในปีนี้

 

        1.3 Human Library

         HUMAN LIBRARY จะต่างจากงานสัมมนาหรือ lecture ทั่วไปตรงที่ว่า ผู้พูดจะเป็นใครก็ได้ (ที่อาจจะไม่ใช่คนดัง) ที่ผ่านเหตุการณ์ในชีวิต ที่อาจจะยากลำบากหรือต้องใช้ความพยายามสูงในการฝ่าฟันมา แล้วสุดท้ายสามารถผ่านช่วงเวลานั้นมาได้ จนตกผลึกและไม่มีอคติกับมัน จนสามารถพูดหรือ discuss ถึงสิ่งนั้นกับผู้อื่นได้อย่างเป็นกลาง พร้อมที่จะแชร์สิ่งนั้นและตอบคำถามต่างๆ การพูดคุยนี้มักจะเป็นกลุ่มย่อย หรือเป็นคู่สนทนา เพราะเรื่องบางครั้งจะลงลึกและประเด็นที่ discuss อาจจะส่วนตัว แนวความคิดจะสอดคล้องกับ “Don’t judge a book by a cover” ผู้จัด event มักจะให้ผู้คนที่เป็นหนังสือมานั่งตามโต๊ะ แล้วให้ผู้คนทั่วไปมาเดินเลือก ว่าจะอ่านหนังสือ (คุยกับใคร) โดย TOPIC ต้องเป็นประเด็นที่ผู้พูดอยากพูดหรือสบายใจที่จะแชร์

 

         1.4 นิทรรศการ สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย : TIDA 

         1.4.1 TIDA LOUGE ประกอบด้วย บริการให้ข้อมูลสมาคมมัณฑนากร / รับสมัครสมาชิก / SHOP ขายของที่ระลึก
         1.4.2 TIDA SOCIETY ประกอบด้วย Talk Club / TIDA Night
         1.4.3 TIDA SALONE การจับคู่ Designer กับ Product ที่น่าสนใจเพื่อนำมา Showcase
         1.4.4 TIDA EXHIBITION จัดแสดงผลงานจากการประกวด TIDA Awards and TIDA Thesis Awards

 

          1.5 นิทรรศการ สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย : TALA

         1.5.1    นิทรรศการและพื้นที่สัมมนาวิชาการ “TALA CLASSROOM” เพื่อจัดแสดง และร่วมแสดงควาคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการภูมิสถาปัตยกรรมที่ดำเนินการร่วมกับภาคีวิชาชีพอื่นๆ อาทิ โครงการเกษตรยั่งยืน โครงการลานกีฬากรุงเทพมหานคร รวมทั้งใช้เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรม Workshop ต่างๆที่จะจัดขึ้นภายในงาน
         1.5.2 พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ “TALA PARK NETWORK MAP” เพื่อจัดแสดงแผนที่ความสัมพันธ์ของโครงสร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองกรุงเทพมหานคร ณ ปัจจุบัน และ/หรือ อนาคต
         1.5.3    กระดานจัดแสดงผลงาน “TALA ‘What If’ Sketch” เพื่อจัดแสดงผลงาน แนวความคิด และจินตนาการ ของผู้ประกอบวิชาชีพ นักศึกษา ทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมที่มีต่อพื้นที่สาธารณะภายในเมือง 
         1.5.4 “TALA’s SALAD BAR” จุดพักผ่อน และนัดพบพูดคุย อย่างไม่เป็นทางการ
         1.5.5    “TALA SHOP & SERVICES” พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกสมาคมฯ หนังสือวิชาการจากสถาบันการศึกษา และประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ของทางสมาคม ฯ

 

          1.6 นิทรรศการ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย : TUDA มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 Themes x 5 Zone ดังนี้

  • Water Management

  • 1 Million Square Meters Projects

  • EEC and Future City

  •  Ageing and Social Inequality

         1.6.1 โซน TUDA ZEB (แซบ) การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ และผลงานออกแบบและการศึกษาวิจัยจากสถาบันการศึกษา​

         1.6.2 โซน TUDA X Muang (เมือง) การจัดแสดงผลงานการประกวดแบบเมืองพัทยา และเมืองอื่นๆ ที่ TUDA ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเมือง

         1.6.3 โซน TUDA X Mhu (หมู่) or TUDA and Friends การจัดแสดงงานของหน่วยงาน บริษัทที่มีผลงานโดดเด่น ด้านการออกแบบและพัฒนาเมือง

         1.6.4 โซน TUDA Khak (คัก) โชว์เคส โชว์คัก ผลงานการออกแบบเมือง ที่เป็นผลงานของสมาชิก TUDA

         1.6.5 โซน TUDA Muan (ม่วน) พื้นที่ให้สมาชิกได้พัก นั่งพูดคุย และจัดเสวนาเวทีย่อย (ถ้าไม่จำเป็นต้องมีแล้วให้ไปใช้เวทีกลาง ให้เอาพื้นที่นี่ไปรวมกับ TUDA ZEB

 

2. นิทรรศการวิชาการ ประกอบด้วย

         2.1 นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design Competition)

         การแสดงผลงานการประกวดแบบในระดับนานาชาติ ที่เปิดให้สมาชิกสมาคมฯ นิสิต-นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมส่งผลงานแสดงแนวคิดในการออกแบบภายใต้กรอบธีมงานที่กำหนด

3. นิทรรศการ สมาคม วิชาชีพ วิชาการ ประกอบด้วย  

         3.1 นิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566

         นำเสนอผลงานที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2566 ที่คัดเลือกโดยสมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

         3.2 นิทรรศการ VERNADOC

         นำเสนอผลงานการเก็บข้อมูลของอาคารที่ทรงคุณค่าด้วยวิธี VERNADOC คือการเก็บข้อมูลอาคารด้วยวิธีพื้นฐิ่น ด้วยการเขียนมือ ใช้ปากกา ดินสอ เขียนแบบ ทำการสำรวจและใช้เวลาศึกษาอยู่กับอาคารสถานที่จริงจนแล้วเสร็จ

         3.3 นิทรรศการผลงานนักศึกษา

         นำเสนอผลงานการออกแบบผลงานของนิสิต-นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จากสถาบันการศึกษา   ทั่วประเทศ อาทิ โครงการประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2566 (TOY ARCH) เป็นต้น

         3.4 นิทรรศการงานประกวดแบบภาครัฐและองค์กรอื่นๆ

         นำเสนอผลงานออกแบบของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและเมือง อาทิ โครงการ Creative city นาเกลือ พัทยา, การจัดประกวดแบบโครงการป้ายรถประจำทาง เทศบาลขอนแก่น เป็นต้น

4.  ส่วนงานพื้นที่กิจกรรมและบริการ 

         4.1    ACT + ASA Shop - พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกสมาคมฯ หนังสือวิชาการจากสถาบันการศึกษา

         4.2   ACT + ASA Club  - พื้นที่ Meeting Point และจุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา

         4.3   สถาปนิกอาสา  - พื้นที่บริการให้คำปรึกษาเรื่องแบบบ้าน จากสถาปนิกอาสา

         4.3   ASA Night 2023  - งานสังสรรค์พบปะตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษาทุกรุ่น ทุกสมัย ทุกสถาบัน

 

5. ส่วนงานสัมมนาวิชาการ

​​         5.1    ASA + ACT International Forum 2023

         งานสัมมนาวิชาการ โดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศ ภายใต้ธีมงาน ตำถาด : Time of Togetherness ในงาน ASA + ACT International Forum 2023 จะจัดให้อยู่รูปแบบ Hybrid Forum ที่จะสามารถเข้าร่วมฟังสัมมนาแบบ On-site และแบบ Online ได้ในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศ

​​         5.2 ASA + ACT Seminar 2023

         งานสัมมนาวิชาการ โดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ภายใต้ธีมงาน ตำถาด : Time of Togetherness โดยงานสัมมนา จะเป็นรูปแบบ Hybrid Forum ที่จะสามารถเข้าร่วมฟังสัมมนาแบบ On-site และแบบ Online ได้ในทุก ๆ พื้นที่ของประเทศเช่นกัน

ACTIVITIES SCHEDULE

[ COMING SOON ]

Organized by

Web material-13.png
bottom of page