top of page

สถาปนิก’67
สร้างการรับรู้ สื่อสาร และส่งต่อ ที่ไร้ขอบเขตผ่านการสัมผัสทางสถาปัตยกรรม 

ด้วยแนวคิด Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์

 

ในอดีตมนุษย์สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ผ่านการใช้ท่าทาง เช่น การชี้นิ้ว พยักหน้า หรือ

การโบกมือ จนพัฒนามาเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงฝน เสียงน้ำ เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ  เมื่อได้ยินก็เกิดความพยายามที่จะเลียนเสียงตาม รวมไปถึงการเปล่งเสียงจากอารมณ์และความรู้สึก ความเจ็บ หรือคำอุทานที่เปล่งออกมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้ผู้อื่นได้เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเอง กลายมาเป็นคำพูดหรือภาษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ หรือย้อนกลับไปเมื่อ 40,000 ปีก่อนคริสตศักราช มีการสื่อสารผ่านภาพวาดที่ใช้สีธรรมชาติ เช่น ถ่าน และเฮมาไทต์ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นตามผนังและเพดานถ้ำ เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างความรับรู้ทางพิธีกรรมแและความเชื่อทางศิลปวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ถูกพัฒนากลายมาเป็นภาษาและศิลปะในเวลาต่อมา 

 

โดยปัจจุบันพบว่ามีภาษามากกว่า 7,000 ภาษาทั่วโลกที่ถูกใช้ในการสื่อสาร ขณะที่ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนชาตินั้นถือเป็นเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลังในการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้คนต่างชาติต่างภาษาผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก  

 

เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการ การสื่อสาร ภาษา ศิลปวัฒนธรรม กลายเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต เฉกเช่นงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่สามารถสื่อสาร ส่งต่อ และสัมผัสได้โดยผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ‘Collective Langauge : สัมผัส สถาปัตย์’ คือแนวคิดหลักของงานสถาปนิก’67 ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสงานออกแบบที่ไร้ขอบเขต พร้อมเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกในแวดวงสถาปัตยกรรมตลอดระยะเวลา 90 ปีของการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว (movement) ที่ดีในอนาคตร่วมกัน ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญ ที่ประกอบไปด้วย

ANNUAL ACTIVITIES

VISITOR REGISTOR

HOW TO GET THERE

bottom of page